ประวัติวัด

  • 1 January 2539
  • 1 January 2545
  • 1 January 2547
  • 1 January 2550
1 January 2539

คณะสงฆ์จีนนิกายได้เริ่มก่อสร้างวัด มีโครงสร้างหลักประกอบด้วยปูนและเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เพื่อความคงทนและมั่นคงถาวร

1 January 2545

ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังคาของวัดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีวางตะแกงเหล็กปรับระดับหลังคาวิหารต่างๆ และงานก่อสร้างบริเวณด้านนอกอีกบางส่วน

1 January 2547

ทางวัดได้ให้ความสำคัญกับงานตกแต่งภายใน และเน้นรายละเอียดลวดลายตามอาคารต่างๆ มีช่างชาวจีนมาช่วยในส่วนของงานหิน เช่น พื้น ผนัง ราวหัวมังกรรอบๆ บริเวณอาคารตลอดจนวาดลวดลายผนัง และเพดาน

1 January 2550

      ทางวัดได้เร่งการก่อสร้างในส่วนของงานตกแต่งภายใน เพิ่มเติม และงานฝีมือต่างๆ เช่น งานไม้ ป้ายชื่อพระอุโบสถ ตุ้ยเลี้ยง แผ่นภาพไม้สัก 500 พระอรหันต์ แผ่นภาพไม้สัก จตุบรรพต 4 ลูก และแผ่นภาพไม้สัก 24 ธรรมบาล ฯลฯ งานศิลป์ต่างๆ นี้ต้องอาศัยเวลาและฝีมืออย่างมาก งานพุทธศิลป์จีนทางวัดให้ความสำคัญรายละเอียดของพระประธาน 3 พระองค์ 18 พระอรหันต์ และเทพเจ้าต่างๆ ตามพุทธลักษณะขององค์พระประธานและเทพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันปี พ.ศ. 2550 วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ ได้ดำเนินงานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์รวมเป็นเวลา 12 ปี

พระศากยมุนีพุทธเจ้า
คือ พระโคดมพุทธเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนิกชนชาวไทยทั้งหลายเคารพกราบไหว้บูชา
พระอมิตพุทธเจ้า
ชาวจีนออกพระนามโดยทับศัพท์ ว่า "อามีท้อ"
พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้า
ชาวจีนออกพระนามพระองค์ว่า "เอียะซือฮุก"
พระพุทธเจ้าทั้ง 7 ในอดีต
มีต่อไปนี้
คำสอนซือหู ข้อที่ 1

เราจะสร้างความดีต่อความสุขในชีวิตของเรายังมีอะไรทำ เพียงแต่เราลุกขึ้นมีแต่จิตใจที่ผ่องแผ้ว​ให้ความดีอยู่ในดวงจิต

 

พิธีรับมอบเงินบริจาค

18 November 2020 พิธีรับมอบเงินบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ นำโดย หลวงจีนธรรมรัตจีนประจักษ์ (เย็นงี้) มอบเงินบริจาค แด่ โรงเรียนบางบัวทอง และ โรงพยาบาลบางบัวทอง ณ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์
VIEW

มอบทุนการศึกษา

18 November 2020 การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แต่อุปสรรคทางการศึกษาของเด็กยากจนก็คือ การขาดทุนทรัพย์ จึงทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา โครงการทุนการศึกษา จากวัดบรมราชากาญจนภิเษกอนุสรณ์ฯ สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน
VIEW

ทิ้งกระจาดมหาทาน

18 November 2020 เป็นพิธีบำเพ็ญทานบารมีในคติพระพุทธศาสนามหายาน ที่กระทำในเดือน 7 ตามจันทรคติจีน (เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ จนถึง 29 หรือ 30 ค่ำ) คำว่า “ทิ้งกระจาด” หรือ “เทกระจาด” เป็นคำที่ปรากฏขึ้นตามอาการที่แจกทาน คือการนำของแจกทานใส่ในภาชนะ ผู้แจกทานจะยืนอยู่บนที่สูงแล้ว “ทิ้งหรือเท”ของแจกทานลงมาด้านล่าง ให้ผู้ยากไร้เก็บไปใช้สอยอุปโภคบริโภคพิธีทิ้งกระจาดมหาทานนี้
VIEW
พระอวโลกิเตศวร
กวนอิมโพธิสัตว์
อุโบสถ
วิหารเทียนอ๊วง
หอระฆัง
หอกลอง
Google Map
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ 959 หมู่ 4 ถนน เทศบาล 9 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
Tel. 025711155

พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว)

พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) อดีตรองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย อดีตรองประธานและเลขานุการ คณะกรรมการสงฆ์จีนนิกาย พระอุปัชฌาย์จีนนิกาย

อดีตเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่ง เน่ย ยี่) และอดีตรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ

      ท่านมีนามเดิม สุทธิธรรม (กิมเซี้ย) โพธิวิสุทธิธรรม ฉายา เย็นเชี้ยว เกิดในตระกูลแซ่เจียม มีภูมิลําเนาเดิม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เชื้อชาติจีน (แต้จิ๋ว) อําเภอโผวเล้ง มณฑลกวางตุ้ง สัญชาติไทย บิดาชื่อ นายยุ่นฮะ แซ่เจียม มารดาชื่อ นางนิ้วเกียว แซ่ลิ้ม เป็นบุตรคนที่ 3 ในจํานวนพี่น้องรวม 5 คน

1. นายเป๋งเตี้ย แซ่เจียม (กิ่งรุ้งเพชร)

2. นางเตียง แซ่เจียม ถึงแก่กรรม

3. พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) สุทธิธรรม (กิมเซี้ย) โพธิวิสุทธิธรรม มรณภาพ

4. นายชุงเซีย แซ่เจียม (นภานพรัตน์แก้ว)

5. นางหมวยนี้ แซ่เจียม (สินธุปเรืองชัย)

      เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2485 ที่ อําเภอยานนาวา กรุงเทพมหานคร บรรพชา เมื่อ พ.ศ. 2502 และอุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2503 ที่วัดโพธิ์เย็น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยมีพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ (โพธิ์แจ้ง) เป็น อุปัชฌาย์  พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ เป็นพระอาจารย์อบรมสั่งสอน พระภิกษุสามเณร เป็นเวลากว่า 30 ปี เป็นผู้มีความสามารถในการบริหารสูง มีปณิธานที่จะพัฒนาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ได้รับภาระธุระ การพระศาสนาในด้านต่างๆ พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ เป็นผู้สนับสนุนการศึกษา ของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ก่อตั้ง “โรงเรียนมังกรกมลาวาส” ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ของ วัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกของคณะสงฆ์จีนในประเทศไทย ท่านได้เป็นประธานดําเนินงานก่อสร้างวัดบรมราชากาญจนาภิเษก อนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ อําเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ขึ้นในปี พ.ศ. 2539

ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2558 เวลา 02.27 น. รวมสิริอายุได้ 72 ปี 55 พรรษา

- สมณศักด์และตําแหน่งการปกครอง -

พ.ศ. 2511  - เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม

                   - เป็นหลวงจีนปลัด

พ.ศ. 2512  - เป็นกรรมการสงฆ์จีนนิกาย

พ.ศ. 2513    - เป็นหลวงจีนปลัด

พ.ศ. 2516    - เป็นกรรมการสงฆ์จีนนิกาย

พ.ศ. 2517    - เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดบําเพ็ญจีนพรต กรุงเทพมหานคร และวัดโพธิ์ทอง จ.นนทบุรี

พ.ศ. 2518    - เป็นพระอุปัชฌาย์จีนนิกาย

                   - เป็นรองปลัดซ้ายจีนนิกาย

                   - ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นหลวงจีนธรรมนันท์จีนประพัทธ์

พ.ศ. 2519   - เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิทัตตาราม อ.ศรีราชาจ.ชลบุรี

พ.ศ. 2520  - เป็นรองเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส พ.ศ. 2523

                   - เป็นเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส พ.ศ. 2525        

                   - เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

                   - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวินยานุกร พ.ศ. 2530

                   - เป็นรองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

                  - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนธรรมคณาธิการ ไพศาลสมณกิจ

                  - เป็นรองประธานและเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกาย

พ.ศ. 2535  - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ ไพศาลสมณกิจ

พ.ศ. 2539   - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ ไพศาลสมณกิจประสิทธิ์สิริมงคลคุณาภิวัฒน์

พ.ศ. 2542  - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ ไพศาลสุนทรสมณกิจ สิริมงคล ประสิทธิ์คุณาภิวัฒน์ พุทธบริษัทจีนวิเนตา

                  - เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

การศึกษาและการเผยแผ่

      พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ เป็นผู้สนับสนุนการศึกษา ของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ก่อตั้ง “โรงเรียนมังกรกมลาวาส” ในปี พ.ศ. 2433 ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ของวัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกของคณะสงฆ์จีนในประเทศไทยในแต่ละปีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยวได้แจกทุนการศึกษาแก่ ภิกษุสามเณร ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมังกรกมลาวาสแล้วศึกษาต่อในระดับ ปริญญาตรี ส่วนการพัฒนาและการเผยแผ่ ท่านได้จัดระเบียบการปกครองของ พระภิกษุสงฆ์ให้อยู่ในพระธรรมวินัย มีสัมมาปฏิบัติ ท่านยังได้จัดรายการบรรยาย ธรรม ในโอกาสต่างๆ เพื่อให้สาธุชนเข้าถึงธรรม และยังได้เดินทางไปเผยแผ่ พระศาสนาในต่างแดนอีกด้วย

      การพัฒนาในด้านต่างๆ ของวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ที่ท่านได้รับตําแหน่ง เจ้าอาวาส ทําให้วัดมังกรกมลาวาส มีความเจริญทั้งทางด้านศาสนสถานและ โรงเรียน พร้อมทั้งการศึกษาให้แก่พระภิกษุสงฆ์ในวัดได้มีคุณธรรมและความรู้ ซึ่งท่านได้เน้นย้ำตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้

- การสาธารณูปการ -

พ.ศ. 2531  - บูรณปฏิสังขรณ์วัดมังกรกมลาวาสทั้งวัด สร้างกุฏิ และหอฉัน

พ.ศ. 2532  - บูรณะศาลาอเนกประสงค์ของ วัดมังกรกมลาวาส

พ.ศ. 2534  - บูรณะวิหารท้าวจตุโลกบาลและองค์ท้าวจตุโลกบาล วัดมังกรกมลาวาส

พ.ศ. 2539  - ดําเนินการสร้าง วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

พ.ศ. 2547   - สร้างตึกอนุสรณ์บูรพาจารย์ วัดมังกรกมลาวาส

พ.ศ. 2550  - บูรณปฏิสังขรณ์วัดมังกรกมลาวาสทั้งวัด

- การสาธารณกุศลที่สําคัญ -

พ.ศ. 2531  - บริจาคมูลนิธิสายใยไทย เป็นเงิน 900,000 บาท

                   - บริจาคช่วยสร้างตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมเป็นเงิน 400,000 บาท

พ.ศ. 2532  - บริจาคช่วยอุทกภัยภาคใต้เป็นเงิน 97,500 บาท

                   - ดําเนินงานบริจาคโรงพยาบาลตากสิน เป็นเงิน 400,000 บาท

พ.ศ. 2533   - นําคณะศิษยานุศิษย์ บริจาคเงินให้แก่ วัยวัฒนานิวาส สถานสงเคราะห์คนชราสมุทรปราการ รวมเป็นเงิน 500,000 บาท

ประวัติวัด

  • 1 January 2539
  • 1 January 2545
  • 1 January 2547
  • 1 January 2550
1 January 2539

คณะสงฆ์จีนนิกายได้เริ่มก่อสร้างวัด มีโครงสร้างหลักประกอบด้วยปูนและเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เพื่อความคงทนและมั่นคงถาวร

1 January 2545

ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังคาของวัดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีวางตะแกงเหล็กปรับระดับหลังคาวิหารต่างๆ และงานก่อสร้างบริเวณด้านนอกอีกบางส่วน

1 January 2547

ทางวัดได้ให้ความสำคัญกับงานตกแต่งภายใน และเน้นรายละเอียดลวดลายตามอาคารต่างๆ มีช่างชาวจีนมาช่วยในส่วนของงานหิน เช่น พื้น ผนัง ราวหัวมังกรรอบๆ บริเวณอาคารตลอดจนวาดลวดลายผนัง และเพดาน

1 January 2550

      ทางวัดได้เร่งการก่อสร้างในส่วนของงานตกแต่งภายใน เพิ่มเติม และงานฝีมือต่างๆ เช่น งานไม้ ป้ายชื่อพระอุโบสถ ตุ้ยเลี้ยง แผ่นภาพไม้สัก 500 พระอรหันต์ แผ่นภาพไม้สัก จตุบรรพต 4 ลูก และแผ่นภาพไม้สัก 24 ธรรมบาล ฯลฯ งานศิลป์ต่างๆ นี้ต้องอาศัยเวลาและฝีมืออย่างมาก งานพุทธศิลป์จีนทางวัดให้ความสำคัญรายละเอียดของพระประธาน 3 พระองค์ 18 พระอรหันต์ และเทพเจ้าต่างๆ ตามพุทธลักษณะขององค์พระประธานและเทพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันปี พ.ศ. 2550 วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ ได้ดำเนินงานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์รวมเป็นเวลา 12 ปี