ประวัติวัด

1 January 2539

คณะสงฆ์จีนนิกายได้เริ่มก่อสร้างวัด มีโครงสร้างหลักประกอบด้วยปูนและเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เพื่อความคงทนและมั่นคงถาวร

1 January 2545

ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังคาของวัดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีวางตะแกงเหล็กปรับระดับหลังคาวิหารต่างๆ และงานก่อสร้างบริเวณด้านนอกอีกบางส่วน

1 January 2547

ทางวัดได้ให้ความสำคัญกับงานตกแต่งภายใน และเน้นรายละเอียดลวดลายตามอาคารต่างๆ มีช่างชาวจีนมาช่วยในส่วนของงานหิน เช่น พื้น ผนัง ราวหัวมังกรรอบๆ บริเวณอาคารตลอดจนวาดลวดลายผนัง และเพดาน

1 January 2550

      ทางวัดได้เร่งการก่อสร้างในส่วนของงานตกแต่งภายใน เพิ่มเติม และงานฝีมือต่างๆ เช่น งานไม้ ป้ายชื่อพระอุโบสถ ตุ้ยเลี้ยง แผ่นภาพไม้สัก 500 พระอรหันต์ แผ่นภาพไม้สัก จตุบรรพต 4 ลูก และแผ่นภาพไม้สัก 24 ธรรมบาล ฯลฯ งานศิลป์ต่างๆ นี้ต้องอาศัยเวลาและฝีมืออย่างมาก งานพุทธศิลป์จีนทางวัดให้ความสำคัญรายละเอียดของพระประธาน 3 พระองค์ 18 พระอรหันต์ และเทพเจ้าต่างๆ ตามพุทธลักษณะขององค์พระประธานและเทพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันปี พ.ศ. 2550 วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ ได้ดำเนินงานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์รวมเป็นเวลา 12 ปี

พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว)

พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) อดีตรองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย อดีตรองประธานและเลขานุการ คณะกรรมการสงฆ์จีนนิกาย พระอุปัชฌาย์จีนนิกาย

อดีตเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่ง เน่ย ยี่) และอดีตรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ

      ท่านมีนามเดิม สุทธิธรรม (กิมเซี้ย) โพธิวิสุทธิธรรม ฉายา เย็นเชี้ยว เกิดในตระกูลแซ่เจียม มีภูมิลําเนาเดิม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เชื้อชาติจีน (แต้จิ๋ว) อําเภอโผวเล้ง มณฑลกวางตุ้ง สัญชาติไทย บิดาชื่อ นายยุ่นฮะ แซ่เจียม มารดาชื่อ นางนิ้วเกียว แซ่ลิ้ม เป็นบุตรคนที่ 3 ในจํานวนพี่น้องรวม 5 คน

1. นายเป๋งเตี้ย แซ่เจียม (กิ่งรุ้งเพชร)

2. นางเตียง แซ่เจียม ถึงแก่กรรม

3. พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) สุทธิธรรม (กิมเซี้ย) โพธิวิสุทธิธรรม มรณภาพ

4. นายชุงเซีย แซ่เจียม (นภานพรัตน์แก้ว)

5. นางหมวยนี้ แซ่เจียม (สินธุปเรืองชัย)

      เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2485 ที่ อําเภอยานนาวา กรุงเทพมหานคร บรรพชา เมื่อ พ.ศ. 2502 และอุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2503 ที่วัดโพธิ์เย็น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยมีพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ (โพธิ์แจ้ง) เป็น อุปัชฌาย์  พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ เป็นพระอาจารย์อบรมสั่งสอน พระภิกษุสามเณร เป็นเวลากว่า 30 ปี เป็นผู้มีความสามารถในการบริหารสูง มีปณิธานที่จะพัฒนาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ได้รับภาระธุระ การพระศาสนาในด้านต่างๆ พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ เป็นผู้สนับสนุนการศึกษา ของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ก่อตั้ง “โรงเรียนมังกรกมลาวาส” ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ของ วัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกของคณะสงฆ์จีนในประเทศไทย ท่านได้เป็นประธานดําเนินงานก่อสร้างวัดบรมราชากาญจนาภิเษก อนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ อําเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ขึ้นในปี พ.ศ. 2539

ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2558 เวลา 02.27 น. รวมสิริอายุได้ 72 ปี 55 พรรษา

- สมณศักด์และตําแหน่งการปกครอง -

พ.ศ. 2511  - เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม

                   - เป็นหลวงจีนปลัด

พ.ศ. 2512  - เป็นกรรมการสงฆ์จีนนิกาย

พ.ศ. 2513    - เป็นหลวงจีนปลัด

พ.ศ. 2516    - เป็นกรรมการสงฆ์จีนนิกาย

พ.ศ. 2517    - เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดบําเพ็ญจีนพรต กรุงเทพมหานคร และวัดโพธิ์ทอง จ.นนทบุรี

พ.ศ. 2518    - เป็นพระอุปัชฌาย์จีนนิกาย

                   - เป็นรองปลัดซ้ายจีนนิกาย

                   - ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นหลวงจีนธรรมนันท์จีนประพัทธ์

พ.ศ. 2519   - เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิทัตตาราม อ.ศรีราชาจ.ชลบุรี

พ.ศ. 2520  - เป็นรองเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส พ.ศ. 2523

                   - เป็นเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส พ.ศ. 2525        

                   - เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

                   - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวินยานุกร พ.ศ. 2530

                   - เป็นรองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

                  - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนธรรมคณาธิการ ไพศาลสมณกิจ

                  - เป็นรองประธานและเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกาย

พ.ศ. 2535  - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ ไพศาลสมณกิจ

พ.ศ. 2539   - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ ไพศาลสมณกิจประสิทธิ์สิริมงคลคุณาภิวัฒน์

พ.ศ. 2542  - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ ไพศาลสุนทรสมณกิจ สิริมงคล ประสิทธิ์คุณาภิวัฒน์ พุทธบริษัทจีนวิเนตา

                  - เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

การศึกษาและการเผยแผ่

      พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ เป็นผู้สนับสนุนการศึกษา ของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ก่อตั้ง “โรงเรียนมังกรกมลาวาส” ในปี พ.ศ. 2433 ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ของวัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกของคณะสงฆ์จีนในประเทศไทยในแต่ละปีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยวได้แจกทุนการศึกษาแก่ ภิกษุสามเณร ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมังกรกมลาวาสแล้วศึกษาต่อในระดับ ปริญญาตรี ส่วนการพัฒนาและการเผยแผ่ ท่านได้จัดระเบียบการปกครองของ พระภิกษุสงฆ์ให้อยู่ในพระธรรมวินัย มีสัมมาปฏิบัติ ท่านยังได้จัดรายการบรรยาย ธรรม ในโอกาสต่างๆ เพื่อให้สาธุชนเข้าถึงธรรม และยังได้เดินทางไปเผยแผ่ พระศาสนาในต่างแดนอีกด้วย

      การพัฒนาในด้านต่างๆ ของวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ที่ท่านได้รับตําแหน่ง เจ้าอาวาส ทําให้วัดมังกรกมลาวาส มีความเจริญทั้งทางด้านศาสนสถานและ โรงเรียน พร้อมทั้งการศึกษาให้แก่พระภิกษุสงฆ์ในวัดได้มีคุณธรรมและความรู้ ซึ่งท่านได้เน้นย้ำตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้

- การสาธารณูปการ -

พ.ศ. 2531  - บูรณปฏิสังขรณ์วัดมังกรกมลาวาสทั้งวัด สร้างกุฏิ และหอฉัน

พ.ศ. 2532  - บูรณะศาลาอเนกประสงค์ของ วัดมังกรกมลาวาส

พ.ศ. 2534  - บูรณะวิหารท้าวจตุโลกบาลและองค์ท้าวจตุโลกบาล วัดมังกรกมลาวาส

พ.ศ. 2539  - ดําเนินการสร้าง วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

พ.ศ. 2547   - สร้างตึกอนุสรณ์บูรพาจารย์ วัดมังกรกมลาวาส

พ.ศ. 2550  - บูรณปฏิสังขรณ์วัดมังกรกมลาวาสทั้งวัด

- การสาธารณกุศลที่สําคัญ -

พ.ศ. 2531  - บริจาคมูลนิธิสายใยไทย เป็นเงิน 900,000 บาท

                   - บริจาคช่วยสร้างตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมเป็นเงิน 400,000 บาท

พ.ศ. 2532  - บริจาคช่วยอุทกภัยภาคใต้เป็นเงิน 97,500 บาท

                   - ดําเนินงานบริจาคโรงพยาบาลตากสิน เป็นเงิน 400,000 บาท

พ.ศ. 2533   - นําคณะศิษยานุศิษย์ บริจาคเงินให้แก่ วัยวัฒนานิวาส สถานสงเคราะห์คนชราสมุทรปราการ รวมเป็นเงิน 500,000 บาท

พระศากยมุนีพุทธเจ้า
คือ พระโคดมพุทธเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนิกชนชาวไทยทั้งหลายเคารพกราบไหว้บูชา
พระอมิตพุทธเจ้า
ชาวจีนออกพระนามโดยทับศัพท์ ว่า "อามีท้อ"
พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้า
ชาวจีนออกพระนามพระองค์ว่า "เอียะซือฮุก"
พระพุทธเจ้าทั้ง 7 ในอดีต
มีต่อไปนี้
พระโพธิสัตว์
พระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์
พระกษิติครรภโพธิสัตว์
พระตี่จั๋ง ออกเสียงตามศัพท์แปลของพระกษิติครรภโพธิสัตว์
พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ (พระกวนอิม)
ท่านเป็นพระมหาโพธิสัตว์ คำว่า พระมหาโพธิสัตว์นี้คือ พระโพธิสัตว์ที่มีปณิธาน
พระมหาสถามปราบต์โพธิสัตว์
คือ พระโพธิสัตว์ ที่นิกายสุขาวดี ( เจ่งโท้ ) นับถือบูชา 
พระสกันทโพธิสัตว์
ชาวจีนเรียกว่า  อุ่ยท้อพู่สัก  แปลมาจากคำว่า  สกันทโพธิสัตว์ 
พระโพธิ์สัตว์ ๘ พระองค์
ประกอบไปด้วย
พระอรหันต์
พระมหากัสสปะมหาเถระ
พระอานนท์มหาเถระ
ท่านเป็นพุทธอุปัฏฐากปรนนิบัติพระพุทธเจ้าไม่ขาดตกบกพร่องจนได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพุทธอุปัฏฐากผู้เลิศ
ธรรมบาล ๒๔ องค์
นับอดีตกาลมา มีเหล่าพระโพธิสัตว์กลุ่มหนึ่งตั้งจิตปรารถนาให้ปวงสรรพสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีโดยสะดวก 
ท้าวจตุโลกบาล
คือ ท้าวจตุมหาราช มีดังนี้
เทพเจ้าจีน เทพโชคลาภ
(ไฉ่ซิ่งเอี้ย,ไฉเสิ้น) 爺 神 財
เทพประจำชะตาชีวิต (ไท่ส่วย,ไท่ซุ่ย) 爺歲太
เป็นเทพเจ้าที่คอยปกป้องคุ้มครองดวงชะตาราศีของมนุษย์ให้ปราศจากภัยพิบัติอุปัทวันตราย
ฮั่วท้อเซียนซือ 師仙陀華
หรือเรียกอีกชื่อว่า ฮั่วท้อ เดิมชื่อว่าฮั้วย้ง “ ฉายาง่วนฮ่วย ”
พระอรหันต์นนทิมิตร ( คีลี )
者尊友慶
พระอรหันต์อชิตะ (อะสะโต)
者尊多化阿
พระอรหันต์อิงคท (อิคะโต)
者尊陀揭因
พระอรหันต์ราหุล (ลาวาโล)
者尊羅恬羅
พระอรหันต์สุปากะ (ไคปักขา)
者尊迦慱戒
พระอรหันต์กาลิกะ (คักขาทิ)
者尊迦理迦
พระอรหันต์นกุละ (ยาสะโล)
者尊羅距諾
พระอรหันต์กนกภารัทวาช ( กะยะขาปสุลิจารย์ )
者尊阇隨梨跋迦諾迦
พระอรหันต์ ปิณโฑลภารัทวาช ( ขีถลาปะโลโต )
者尊墮羅跋羅度賨
พระอรหันต์กนกวัจฉะ ( ขายะเคช )
者尊蹉伐迦諾迦
พระอรหันต์สุปิณฑะ (สุพะโท)
者尊陀頻蘇
พระอรหันต์ภัทร (ชะโตโล)
者尊羅陀跋
พระอรหันต์วัชรบุตร (วัดจารย์โตสุโข)
者尊羅多弗羅阇伐
พระอรหันต์มหาปันถกะ (ปัตยะ)
者尊迦扥半
พระอรหันต์นาคเสน (ลาขานะ)
者尊那犀伽那
พระอรหันต์วนวาสี (วัคนะจุ )
者尊斯汥那伐
พระอรหันต์จูฬปันถกะ (กุจะปักยะขะ )
者尊迦託茶注
พระอรหันต์ปิณโฑละ (ปักถะโล )
者尊盧頭賨
เทพตั่วเหล่าเอี้ย  帝上天玄
เทพตั่วเหล่าเอี้ย  帝上天玄
เจ้าที่ (แปะกง,ป๋อกง)  伯公
เจ้าที่ (แปะกง,ป๋อกง)  伯公
ไท้อิมไท้เอี๊ยง  宮月  宮日
ไท้อิมไท้เอี๊ยง  宮月  宮日
เทพดาวเหนือ 紫微星君
เทพดาวเหนือ 紫微星君
คำสอนซือหู ข้อที่ 1

เราจะสร้างความดีต่อความสุขในชีวิตของเรายังมีอะไรทำ เพียงแต่เราลุกขึ้นมีแต่จิตใจที่ผ่องแผ้ว​ให้ความดีอยู่ในดวงจิต

 

พิธีขมากรรม 梁皇寶懺

慈悲道場懺法 (梁皇寶懺)

พิธีขมากรรมเมตตากรุณามณฑล (ฉื่อปุยเต่าเตี๊ยช่ำหวบ) หรือ พิธีขมากรรม ฉบับพระจักรพรรดิเหลียงบู่ตี่ (เนี๋ยฮ้วงปอช่ำ) ความเป็นมา

บทสวดขมากรรมนี้มีชื่อเต็มว่า พิธีขมากรรมเมตตากรุณามณฑล (ฉื่อปุยเต่าเตี๊ยช่ำหวบ慈悲道場懺法 ) แต่ ในสมัยหลัง นิยมเรียกกันสั้นๆว่า พิธีขมากรรมฉบับพระจักรพรรดิเหลียงบู่ตี่ (เนี๋ยฮ้วงปอช่ำ梁皇懺 )  เป็นบทสวด ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อ พ.ศ.1450 ราชวงศ์เหลียงฝ่ายใต้ มีพระเจ้าเหลียงบู่ตี่ ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงมี พระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงปฏิสังขรณ์วัดวาอารามทั่วแผ่นดิน และทำนุบำรุงพระสงฆ์ทั่วไป ทั้งพระราชอาณาเขต ทรงเจริญพระพุทธมนต์ทั้งเช้าและค่ำเป็นกิจวัตร ฝ่ายพระมเหสี พระนางฮีสีฮองเฮา กลับทรงเกลียดชังพระพุทธศาสนา ทรงออกอุบายขัดขวางพระราชศรัทธาขององค์ฮ่องเต้ ทั้งยังกลั่นแกล้งพระสงฆ์ และพุทธบริษัทอยู่เสมอ ถึงกับได้ทำลายพระพุทธปฏิมา นำเอาพระคัมภีร์ของพระสวามีไปเผาทิ้ง พระนางสิ้นพระชนม์ลง กรรมชั่วนั้นให้ผลแก่วิญญาณพระนางไปเป็นงูอยู่ในอบายภูมิได้รับวิบากกรรม เป็นทุกขเวทนาอย่างมาก ต่อมาคืนหนึ่งพระเจ้าเหลียงบู่ตี่ ทรงสุบินเห็นงูพระนางฮีสีฮองเฮาได้มาปรากฏตัว เบื้องหน้าพระพักตร์พระเจ้าเหลียงบู่ตี่ พระนางพรรณนาถึงกรรมชั่วที่ได้กระทำไปเมื่อยังมีชีวิตอยู่ จนได้รับการทรมานอยู่ในนรก บัดนี้ได้สำนึกในบาปของตนแล้ว จึงกราบทูลขอพระกรุณา ขอพระบารมีของพระสวามีเป็นที่พึ่งช่วยปลดเปลื้องให้พระนางพ้นจากกองทุกข์ครั้งนี้ด้วย

เมื่อตื่นบรรทม พระเจ้าเหลียงบู่ตี่ จึงนำเรื่องพระสุบินเข้าหารือ พระมหาเถระป๋อจี้ ผู้เป็นพระราชครู ว่าจะมี อุบายวิธีใดที่จะช่วยปลดเปลื้องให้พระนางได้ทุเลาจากผลวิบากกรรมนี้ด้วย พระมหาเถระป๋อจี้ จึงถวายคำวิสัชชนาว่า พระองค์ควรบำเพ็ญพระราชกุศลตั้งมณฑลพิธีมีพระรัตนตรัยเป็น ประธาน อาราธนาพระสงฆ์ทั้งทศทิศมาสังวัธยายพระธรรม และขอทรงกระทำการขมากรรมแทนดวงพระ วิญญาณของพระมเหสี รวมทั้งถวายภัตตาหารเครื่องไทยธรรมต่างๆแด่พระสงฆ์ทั้งหลาย และกระทำมหาทาน แก่เหล่าผู้ยากไร้ต่างๆ เพื่ออุทิศมหากุศลผลบุญนี้แก่ดวงพระวิญญาณของพระมเหสี

พระมหาเถระป๋อจี้ จึงได้รวบรวมพระธรรมคำสอนจากพระสูตรมหายานหลายพระสูตร เพื่อเรียบเรียงเป็นบท สวดสำหรับใช้ในพิธีครั้งนี้ จึงสำเร็จเป็นคัมภีร์ พิธีขมากรรม ต่อมาได้ให้ชื่อว่า บทสวดพิธีขมากรรมเมตตา กรุณามณฑล (ฉื่อปุยเต่าเตี๊ยช่ำหวบ慈悲道場懺法 ) เมื่อมีบทสวดที่จะใช้ในพิธีเรียบร้อย แล้วพระเจ้าเหลียงบู่ตี่ จึงทรงโปรดให้มีการพิธีเป็นการใหญ่ ตามแบบที่ พระมหาเถระได้กราบทูลไว้ การประกอบพิธีในครั้งนั้นใช้เวลาหลายวันหลายคืนจึงสำเร็จ ได้อุทิศส่วนพระกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของพระมเหสี ตามพระราชปณิธานของฮ่องเต้

ต่อมาหลังจากพิธีสิ้นสุดลงไม่นานดวงวิญญาณของพระนางได้มาเข้าฝันพระสวามีและกราบทูลว่า พระนางได้หลุดพ้นจากการเป็นงูไปสู่สุคติแล้ว ยังความปีติโสมนัสแก่ฮ่องเต้เป็นอย่างยิ่ง ในยุคสมัยต่อมาบทสวดนี้ได้รับความนิยมมาใช้เป็นบทสวดขมากรรมอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ และสรรพสัตว์ ใน โอกาสต่างๆ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 1,000 ปี และนับแต่ราชวงศ์ถังเป็นต้นมานิยม เรียกชื่อว่า พิธี ขมากรรม ฉบับพระจักรพรรดิเหลียงบู่ตี่ (เนี๋ยฮ้วงปอช่ำ梁皇寶懺) จนทุกวันนี้

ความหมายของพิธีขมากรรม

ตามประวัติข้างต้น พระพุทธศาสนามหายานในประเทศจีน จึงมี บทสวดพิธีขมากรรมเมตตากรุณามณฑล (ฉื่อปุยเต่าเตี๊ยช่ำหวบ慈悲道場懺法) ถือว่าเป็นราชาแห่งบทสวดพิธีขมากรรม เพราะเป็นบทสวดพิธีขมากรรม บทแรกในประเทศจีน และเป็นที่นิยมนับถือกันว่ามีอานิสงส์มาก นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียง เป็นต้นมา พิธีกรรมในการสวดขมากรรม หรือ ไป้ช่ำ拜懺 , หลอยช่ำ禮懺 มีความหมายอธิบายได้ดังนี้

 คำว่า ขมากรรม หรือ ช่ำม้อ 懺摩 เป็นคำที่มีที่มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า กฺษม, กฺษมยติ (ภาษาบาลี ขมา) คำว่า กษมา(ช่ำม้อ) แต่เดิมแปลว่า ความข่ม, ความอดทน, ความอดทนหรืออดกลั้น ซึ่งภาษาจีนแปลความ หมาย ได้อีกคำว่า ช่ำห่วย懺悔 ในทางพระพุทธศาสนา คือ การขมาโทษ , ยอมขอขมาโทษ , การขอให้อด โทษ , การขออภัยโทษ , การขออดกลั้น , การขอให้อโหสิกรรมเพื่อขอให้ยกโทษให้ คำว่า ขมากรรม ช่ำห่วย 懺悔 คือการสำนึกผิด ยอมรับกรรมที่ได้กระทำล่วงไปแล้ว และตั้งใจไม่ทำอีก

การสวดขมากรรม หรือ ไป้ช่ำ拜懺 , หลอยช่ำ禮懺 นี้จึง มีความหมายเป็นการแสดงการยอมรับ ในความผิด ในบาปกรรม ที่ตนได้เคยกระทำมาทั้งในอดีตปัจจุบัน โดยทางกายวาจาและใจ ต่อหน้าพระรัตนตรัยเพื่อขอทรง เป็นสักขีพยาน เป็นการอโหสิกรรมอันได้ล่วงแล้วจึงถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามหลักของมหายาน โศลกขมากรรม(ช่ำห่วยบุ๊ง) จากอวตังสกสูตร ที่ชาวพุทธจีนนิยมใช้กัน มีข้อความว่า

我昔所造諸惡業皆由無始貪瞋癡

從身語意之所生今對佛前求懺悔

“ กรรมชั่วอันใดที่ข้าฯได้กระทำแล้ว ด้วยเหตุจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ดี ได้กระทำทาง กาย วาจา ใจ ก็ดี ณ เบื้องหน้าพระพุทธองค์นี้ ข้าฯ ขอขมากรรมนั้นทั้งสิ้น ”

เนื้อหาในบทสวดพิธีขมากรรม เริ่มจาก ในมณฑลพิธี มีการบูชาพระรัตนตรัยเป็นเบื้องต้น และถวายอามิส บูชา 10 ประการ ได้แก่ ธูป香,ดอกไม้花,ประทีป燈,เครื่องหอม塗,ผลไม้果,น้ำชา茶,อาหาร⻝, รัตนะ寶, ไข่มุกด์ 珠,ภูษา衣 รวม 10 อย่าง ถวายเป็นเครื่องบูชาแด่พระรัตนตรัย และพระโพธิสัตว์ ธรรมบาล ในมณฑลพิธี ต่อจากนั้นการอธิบายธรรม ที่ยกมาจากพระสูตรต่างๆ เพื่อให้เราได้นำกลับมาสำรวจตนเอง เรียนรู้เข้าใน เกิดสำนึกตน และสารภาพความผิดในอดีตต่อพระรัตนตรัย เรียนรู้งดเว้นอกุศลกรรมต่างๆ รู้จักการสั่งสมกุศล กรรม และตั้งปณิธานจะไม่ทำชั่วอีก จะประกอบแต่กรรมดีเป็นกุศล เพราะพวกเราทั้งหลายย่อมถูกอวิชชาคือ ความไม่รู้จากกิเลสตัณหา คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ปกคลุม เป็นเหตุให้สร้างอกุศลกรรมทั้งหลาย นับแต่การขาดศรัทธาในพระรัตนตรัย อกตัญญู คบมิตรชั่ว ลุ่มหลงในความบันเทิงยินดีด้วยรูป รส สัมผัส มีการ ประกอบปาณาติบาต ประทุษร้ายกันด้วยทางกาย ทางวาจา ทางใจ พูดปด ด่าทอกัน พูดจากลับกลอก ลักโขมย ดื่มสุราเมรัย และล่วงละเมิดประเวณี ทำผิดศีลธรรมทั้งปวง ในทุกชาติที่ได้เวียนว่ายตายเกิดกล่าวสรุปได้ว่า พิธีกรรมเรียกว่า ขมากรรม (ไป้ช่ำ) คือการขอสารภาพบาปทั้งหมดของบุคคลซึ่งเคยทำบาป นั้นไว้ อานิสงส์ของการขมากรรม ย่อมมาจาก ผลของการเจริญพระพุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ การ สำนึกบาปและสารภาพบาปกรรมในอดีตของตนเองและสรรพสัตว์ ผู้กระทำย่อมได้รับพุทธานุภาพ จากแสงพุทธ รัศมี พระเมตตากรุณาคุณ พระปัญญาคุณ และพุทธคุณทั้งหลาย ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า สาดส่องมาชำระกายวาจาใจ ของเรา และสรรพสัตว์ ให้บริสุทธิ์ผ่องใส มีกายใจตั้งมั่นในความดี เป็นผู้ ปราศจากการอกุศล มุ่งดำเนินชีวิต สร้างกุศลกรรม ตั้งใจบำเพ็ญตน สั่งสมกุศลมูลให้เพิ่มพูนในตนให้ยิ่งขึ้นไป จนถึงการบรรลุทางของพระโพธิญาณในที่สุด

เรียบเรียงโดย เศรษฐพงษ์ จงสงวน

Photo : ลูกศิษย์วัด

 

พิธีรับมอบเงินบริจาค

18 November 2020 พิธีรับมอบเงินบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ นำโดย หลวงจีนธรรมรัตจีนประจักษ์ (เย็นงี้) มอบเงินบริจาค แด่ โรงเรียนบางบัวทอง และ โรงพยาบาลบางบัวทอง ณ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์
VIEW

มอบทุนการศึกษา

18 November 2020 การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แต่อุปสรรคทางการศึกษาของเด็กยากจนก็คือ การขาดทุนทรัพย์ จึงทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา โครงการทุนการศึกษา จากวัดบรมราชากาญจนภิเษกอนุสรณ์ฯ สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน
VIEW

ทิ้งกระจาดมหาทาน

18 November 2020 เป็นพิธีบำเพ็ญทานบารมีในคติพระพุทธศาสนามหายาน ที่กระทำในเดือน 7 ตามจันทรคติจีน (เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ จนถึง 29 หรือ 30 ค่ำ) คำว่า “ทิ้งกระจาด” หรือ “เทกระจาด” เป็นคำที่ปรากฏขึ้นตามอาการที่แจกทาน คือการนำของแจกทานใส่ในภาชนะ ผู้แจกทานจะยืนอยู่บนที่สูงแล้ว “ทิ้งหรือเท”ของแจกทานลงมาด้านล่าง ให้ผู้ยากไร้เก็บไปใช้สอยอุปโภคบริโภคพิธีทิ้งกระจาดมหาทานนี้
VIEW

Loding...

พระอวโลกิเตศวร
กวนอิมโพธิสัตว์
อุโบสถ
วิหารเทียนอ๊วง
หอระฆัง
หอกลอง
พระอวโลกิเตศวร กวนอิมโพธิสัตว์
อุโบสถ
วิหารเทียนอ๊วง
หอระฆัง
หอกลอง
Google Map
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ 959 หมู่ 4 ถนน เทศบาล 9 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
Tel. 025711155

พระศากยมุนีพุทธเจ้า

คือ พระโคดมพุทธเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนิกชนชาวไทยทั้งหลายเคารพกราบไหว้บูชา

พระอมิตพุทธเจ้า

ชาวจีนออกพระนามโดยทับศัพท์ ว่า "อามีท้อ"

พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้า

ชาวจีนออกพระนามพระองค์ว่า "เอียะซือฮุก"

พระพุทธเจ้าทั้ง 7 ในอดีต

มีต่อไปนี้

พระโพธิสัตว์

พระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์

พระกษิติครรภโพธิสัตว์

พระตี่จั๋ง ออกเสียงตามศัพท์แปลของพระกษิติครรภโพธิสัตว์

พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ (พระกวนอิม)

ท่านเป็นพระมหาโพธิสัตว์ คำว่า พระมหาโพธิสัตว์นี้คือ พระโพธิสัตว์ที่มีปณิธาน

พระมหาสถามปราบต์โพธิสัตว์

คือ พระโพธิสัตว์ ที่นิกายสุขาวดี ( เจ่งโท้ ) นับถือบูชา 

พระสกันทโพธิสัตว์

ชาวจีนเรียกว่า  อุ่ยท้อพู่สัก  แปลมาจากคำว่า  สกันทโพธิสัตว์ 

พระโพธิ์สัตว์ ๘ พระองค์

ประกอบไปด้วย

พระอรหันต์

พระมหากัสสปะมหาเถระ

พระอานนท์มหาเถระ

ท่านเป็นพุทธอุปัฏฐากปรนนิบัติพระพุทธเจ้าไม่ขาดตกบกพร่องจนได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพุทธอุปัฏฐากผู้เลิศ

ธรรมบาล ๒๔ องค์

นับอดีตกาลมา มีเหล่าพระโพธิสัตว์กลุ่มหนึ่งตั้งจิตปรารถนาให้ปวงสรรพสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีโดยสะดวก 

ท้าวจตุโลกบาล

คือ ท้าวจตุมหาราช มีดังนี้

เทพเจ้าจีน เทพโชคลาภ

(ไฉ่ซิ่งเอี้ย,ไฉเสิ้น) 爺 神 財

เทพประจำชะตาชีวิต (ไท่ส่วย,ไท่ซุ่ย) 爺歲太

เป็นเทพเจ้าที่คอยปกป้องคุ้มครองดวงชะตาราศีของมนุษย์ให้ปราศจากภัยพิบัติอุปัทวันตราย

ฮั่วท้อเซียนซือ 師仙陀華

หรือเรียกอีกชื่อว่า ฮั่วท้อ เดิมชื่อว่าฮั้วย้ง “ ฉายาง่วนฮ่วย ”

พระอรหันต์นนทิมิตร ( คีลี )

者尊友慶

พระอรหันต์อชิตะ (อะสะโต)

者尊多化阿

พระอรหันต์อิงคท (อิคะโต)

者尊陀揭因

พระอรหันต์ราหุล (ลาวาโล)

者尊羅恬羅

พระอรหันต์สุปากะ (ไคปักขา)

者尊迦慱戒

พระอรหันต์กาลิกะ (คักขาทิ)

者尊迦理迦

พระอรหันต์นกุละ (ยาสะโล)

者尊羅距諾

พระอรหันต์กนกภารัทวาช ( กะยะขาปสุลิจารย์ )

者尊阇隨梨跋迦諾迦

พระอรหันต์ ปิณโฑลภารัทวาช ( ขีถลาปะโลโต )

者尊墮羅跋羅度賨

พระอรหันต์กนกวัจฉะ ( ขายะเคช )

者尊蹉伐迦諾迦

พระอรหันต์สุปิณฑะ (สุพะโท)

者尊陀頻蘇

พระอรหันต์ภัทร (ชะโตโล)

者尊羅陀跋

พระอรหันต์วัชรบุตร (วัดจารย์โตสุโข)

者尊羅多弗羅阇伐

พระอรหันต์มหาปันถกะ (ปัตยะ)

者尊迦扥半

พระอรหันต์นาคเสน (ลาขานะ)

者尊那犀伽那

พระอรหันต์วนวาสี (วัคนะจุ )

者尊斯汥那伐

พระอรหันต์จูฬปันถกะ (กุจะปักยะขะ )

者尊迦託茶注

พระอรหันต์ปิณโฑละ (ปักถะโล )

者尊盧頭賨

เทพตั่วเหล่าเอี้ย  帝上天玄

เทพตั่วเหล่าเอี้ย  帝上天玄

เจ้าที่ (แปะกง,ป๋อกง)  伯公

เจ้าที่ (แปะกง,ป๋อกง)  伯公

ไท้อิมไท้เอี๊ยง  宮月  宮日

ไท้อิมไท้เอี๊ยง  宮月  宮日

เทพดาวเหนือ 紫微星君

เทพดาวเหนือ 紫微星君

ธรรมะ

VIEW

ความรู้มหายาน

VIEW

พิธีรับมอบเงินบริจาค

18 November 2020 พิธีรับมอบเงินบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ นำโดย หลวงจีนธรรมรัตจีนประจักษ์ (เย็นงี้) มอบเงินบริจาค แด่ โรงเรียนบางบัวทอง และ โรงพยาบาลบางบัวทอง ณ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์
VIEW

มอบทุนการศึกษา

18 November 2020 การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แต่อุปสรรคทางการศึกษาของเด็กยากจนก็คือ การขาดทุนทรัพย์ จึงทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา โครงการทุนการศึกษา จากวัดบรมราชากาญจนภิเษกอนุสรณ์ฯ สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน
VIEW

ทิ้งกระจาดมหาทาน

18 November 2020 เป็นพิธีบำเพ็ญทานบารมีในคติพระพุทธศาสนามหายาน ที่กระทำในเดือน 7 ตามจันทรคติจีน (เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ จนถึง 29 หรือ 30 ค่ำ) คำว่า “ทิ้งกระจาด” หรือ “เทกระจาด” เป็นคำที่ปรากฏขึ้นตามอาการที่แจกทาน คือการนำของแจกทานใส่ในภาชนะ ผู้แจกทานจะยืนอยู่บนที่สูงแล้ว “ทิ้งหรือเท”ของแจกทานลงมาด้านล่าง ให้ผู้ยากไร้เก็บไปใช้สอยอุปโภคบริโภคพิธีทิ้งกระจาดมหาทานนี้
VIEW
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ 959 หมู่ 4 ถนน เทศบาล 9 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
Tel. 02-571-1155 , Tel. 025711155
Copyright © 2016 Leng Nei Yee All Rights Reserved.

พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว)

พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) อดีตรองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย อดีตรองประธานและเลขานุการ คณะกรรมการสงฆ์จีนนิกาย พระอุปัชฌาย์จีนนิกาย

อดีตเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่ง เน่ย ยี่) และอดีตรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ

      ท่านมีนามเดิม สุทธิธรรม (กิมเซี้ย) โพธิวิสุทธิธรรม ฉายา เย็นเชี้ยว เกิดในตระกูลแซ่เจียม มีภูมิลําเนาเดิม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เชื้อชาติจีน (แต้จิ๋ว) อําเภอโผวเล้ง มณฑลกวางตุ้ง สัญชาติไทย บิดาชื่อ นายยุ่นฮะ แซ่เจียม มารดาชื่อ นางนิ้วเกียว แซ่ลิ้ม เป็นบุตรคนที่ 3 ในจํานวนพี่น้องรวม 5 คน

1. นายเป๋งเตี้ย แซ่เจียม (กิ่งรุ้งเพชร)

2. นางเตียง แซ่เจียม ถึงแก่กรรม

3. พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) สุทธิธรรม (กิมเซี้ย) โพธิวิสุทธิธรรม มรณภาพ

4. นายชุงเซีย แซ่เจียม (นภานพรัตน์แก้ว)

5. นางหมวยนี้ แซ่เจียม (สินธุปเรืองชัย)

      เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2485 ที่ อําเภอยานนาวา กรุงเทพมหานคร บรรพชา เมื่อ พ.ศ. 2502 และอุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2503 ที่วัดโพธิ์เย็น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยมีพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ (โพธิ์แจ้ง) เป็น อุปัชฌาย์  พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ เป็นพระอาจารย์อบรมสั่งสอน พระภิกษุสามเณร เป็นเวลากว่า 30 ปี เป็นผู้มีความสามารถในการบริหารสูง มีปณิธานที่จะพัฒนาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ได้รับภาระธุระ การพระศาสนาในด้านต่างๆ พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ เป็นผู้สนับสนุนการศึกษา ของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ก่อตั้ง “โรงเรียนมังกรกมลาวาส” ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ของ วัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกของคณะสงฆ์จีนในประเทศไทย ท่านได้เป็นประธานดําเนินงานก่อสร้างวัดบรมราชากาญจนาภิเษก อนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ อําเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ขึ้นในปี พ.ศ. 2539

ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2558 เวลา 02.27 น. รวมสิริอายุได้ 72 ปี 55 พรรษา

- สมณศักด์และตําแหน่งการปกครอง -

พ.ศ. 2511  - เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม

                   - เป็นหลวงจีนปลัด

พ.ศ. 2512  - เป็นกรรมการสงฆ์จีนนิกาย

พ.ศ. 2513    - เป็นหลวงจีนปลัด

พ.ศ. 2516    - เป็นกรรมการสงฆ์จีนนิกาย

พ.ศ. 2517    - เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดบําเพ็ญจีนพรต กรุงเทพมหานคร และวัดโพธิ์ทอง จ.นนทบุรี

พ.ศ. 2518    - เป็นพระอุปัชฌาย์จีนนิกาย

                   - เป็นรองปลัดซ้ายจีนนิกาย

                   - ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นหลวงจีนธรรมนันท์จีนประพัทธ์

พ.ศ. 2519   - เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิทัตตาราม อ.ศรีราชาจ.ชลบุรี

พ.ศ. 2520  - เป็นรองเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส พ.ศ. 2523

                   - เป็นเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส พ.ศ. 2525        

                   - เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

                   - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวินยานุกร พ.ศ. 2530

                   - เป็นรองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

                  - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนธรรมคณาธิการ ไพศาลสมณกิจ

                  - เป็นรองประธานและเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกาย

พ.ศ. 2535  - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ ไพศาลสมณกิจ

พ.ศ. 2539   - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ ไพศาลสมณกิจประสิทธิ์สิริมงคลคุณาภิวัฒน์

พ.ศ. 2542  - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ ไพศาลสุนทรสมณกิจ สิริมงคล ประสิทธิ์คุณาภิวัฒน์ พุทธบริษัทจีนวิเนตา

                  - เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

การศึกษาและการเผยแผ่

      พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ เป็นผู้สนับสนุนการศึกษา ของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ก่อตั้ง “โรงเรียนมังกรกมลาวาส” ในปี พ.ศ. 2433 ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ของวัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกของคณะสงฆ์จีนในประเทศไทยในแต่ละปีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยวได้แจกทุนการศึกษาแก่ ภิกษุสามเณร ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมังกรกมลาวาสแล้วศึกษาต่อในระดับ ปริญญาตรี ส่วนการพัฒนาและการเผยแผ่ ท่านได้จัดระเบียบการปกครองของ พระภิกษุสงฆ์ให้อยู่ในพระธรรมวินัย มีสัมมาปฏิบัติ ท่านยังได้จัดรายการบรรยาย ธรรม ในโอกาสต่างๆ เพื่อให้สาธุชนเข้าถึงธรรม และยังได้เดินทางไปเผยแผ่ พระศาสนาในต่างแดนอีกด้วย

      การพัฒนาในด้านต่างๆ ของวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ที่ท่านได้รับตําแหน่ง เจ้าอาวาส ทําให้วัดมังกรกมลาวาส มีความเจริญทั้งทางด้านศาสนสถานและ โรงเรียน พร้อมทั้งการศึกษาให้แก่พระภิกษุสงฆ์ในวัดได้มีคุณธรรมและความรู้ ซึ่งท่านได้เน้นย้ำตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้

- การสาธารณูปการ -

พ.ศ. 2531  - บูรณปฏิสังขรณ์วัดมังกรกมลาวาสทั้งวัด สร้างกุฏิ และหอฉัน

พ.ศ. 2532  - บูรณะศาลาอเนกประสงค์ของ วัดมังกรกมลาวาส

พ.ศ. 2534  - บูรณะวิหารท้าวจตุโลกบาลและองค์ท้าวจตุโลกบาล วัดมังกรกมลาวาส

พ.ศ. 2539  - ดําเนินการสร้าง วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

พ.ศ. 2547   - สร้างตึกอนุสรณ์บูรพาจารย์ วัดมังกรกมลาวาส

พ.ศ. 2550  - บูรณปฏิสังขรณ์วัดมังกรกมลาวาสทั้งวัด

- การสาธารณกุศลที่สําคัญ -

พ.ศ. 2531  - บริจาคมูลนิธิสายใยไทย เป็นเงิน 900,000 บาท

                   - บริจาคช่วยสร้างตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมเป็นเงิน 400,000 บาท

พ.ศ. 2532  - บริจาคช่วยอุทกภัยภาคใต้เป็นเงิน 97,500 บาท

                   - ดําเนินงานบริจาคโรงพยาบาลตากสิน เป็นเงิน 400,000 บาท

พ.ศ. 2533   - นําคณะศิษยานุศิษย์ บริจาคเงินให้แก่ วัยวัฒนานิวาส สถานสงเคราะห์คนชราสมุทรปราการ รวมเป็นเงิน 500,000 บาท

ประวัติวัด

1 January 2539

คณะสงฆ์จีนนิกายได้เริ่มก่อสร้างวัด มีโครงสร้างหลักประกอบด้วยปูนและเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เพื่อความคงทนและมั่นคงถาวร

1 January 2545

ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังคาของวัดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีวางตะแกงเหล็กปรับระดับหลังคาวิหารต่างๆ และงานก่อสร้างบริเวณด้านนอกอีกบางส่วน

1 January 2547

ทางวัดได้ให้ความสำคัญกับงานตกแต่งภายใน และเน้นรายละเอียดลวดลายตามอาคารต่างๆ มีช่างชาวจีนมาช่วยในส่วนของงานหิน เช่น พื้น ผนัง ราวหัวมังกรรอบๆ บริเวณอาคารตลอดจนวาดลวดลายผนัง และเพดาน

1 January 2550

      ทางวัดได้เร่งการก่อสร้างในส่วนของงานตกแต่งภายใน เพิ่มเติม และงานฝีมือต่างๆ เช่น งานไม้ ป้ายชื่อพระอุโบสถ ตุ้ยเลี้ยง แผ่นภาพไม้สัก 500 พระอรหันต์ แผ่นภาพไม้สัก จตุบรรพต 4 ลูก และแผ่นภาพไม้สัก 24 ธรรมบาล ฯลฯ งานศิลป์ต่างๆ นี้ต้องอาศัยเวลาและฝีมืออย่างมาก งานพุทธศิลป์จีนทางวัดให้ความสำคัญรายละเอียดของพระประธาน 3 พระองค์ 18 พระอรหันต์ และเทพเจ้าต่างๆ ตามพุทธลักษณะขององค์พระประธานและเทพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันปี พ.ศ. 2550 วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ ได้ดำเนินงานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์รวมเป็นเวลา 12 ปี